top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนT P

Local สู่เลอค่า แนวคิดการพัฒนาและออกแบบชุมชนด้วยศิลปะร่วมสมัย

ทำไมเรื่องที่พูดไว้ในรายการ CSR TALK & CSR STORY จึงเป็นเรื่องที่เห็นว่าสำคัญ?

❇️ Local สู่เลอค่า เป็นแนวคิดการพัฒนาและออกแบบชุมชนด้วยศิลปะร่วมสมัย กว่า 80,000 ชุมชนในประเทศไทยล้วนมีความงามด้านสถาปัตยกรรมชุมชน อาคารบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้างที่ต่างกันขึ้นอยู่่กับแต่ละภูมิภาค การพัฒนาชุมชนต้องมอง

ในเรื่องการบูรณาการ


❇️โดยเฉพาะในเรื่องแบรนดิ้งและสถาปัตยกรรมจะต้องหาผู้ที่มีรสนิยมมาช่วยคิด วางแผนและออกแบบชุมชน หมู่บ้านเกษตรกรรมในประเทศไทยให้มีเสน่ห์เกิดจุดขาย โดยใช้ศิลปะร่วมสมัยเป็นเครื่องมือในการทำงาน เน้นเก่าอยู่กับใหม่ให้ลงตัว โดยมองภาพธีมรวม เช่น


❇️การใช้อัตลักษณ์เรื่องสีของอำเภอและสีของจังหวัดมาสร้างความโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นการใช้สีทาตัวอาคารบ้านเรือน

การปลูกต้นไม้ใหญ่ทั่วจังหวัดที่ให้ดอกสีเดียวกัน หรืองานกราฟฟิกป้ายโฆษณาต่างๆ ในจังหวัด สิ่งเหล่านี้ที่ทางจังหวัดควรจัดทำหนังสือคู่มือที่เป็นภาพประกอบเพื่อให้เห็นภาพเข้าใจง่าย รณรงค์ให้ชุมชนทำความเข้าใจเห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในพื้นที่ของตนเอง


❇️ยุคนี้การท่องเที่ยวชุมชนมีความสำคัญมาก จะทำอย่างไรให้พื้นที่ในหมู่บ้านของเกษตรกรทั่วไทยเกิดมูลค่า ได้อยู่อาศัยและทำการค้าขายไปด้วย ซึ่งแนวคิดบ้านทุกหลังคือพิพิธภัณฑ์กึ่งอยู่อาศัย การปรับปรุงทัศนียภาพบ้านอยู่อาศัยของชาวบ้านให้สวยจะทำอย่างไร


❇️โดยหน่วยงานรัฐควรนำคนที่มีรสนิยมเข้าไปช่วยออกแบบดำเนินการให้บ้านแต่ละหลังงามในแบบที่เขาเป็น และเปิดให้ผู้คนเข้าไปเยี่ยมชมได้ บ้านทำการค้าไปด้วยในตัว ทำให้บ้านแต่ละหลังต่างก็มีคุณค่า และสุดท้ายหมู่บ้านแห่งนั้นก็จะถูกพูดถึงและกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวไปโดยธรรมชาติ


ทำอย่างไรให้เรื่องที่พูดไว้ในรายการ CSR TALK & CSR STORY ได้เกิด IMPACT ที่นำไปสู่ความยั่งยืนได้ต่อไป

❇️Action ลงมือทำคือคำตอบของความยั่งยืน ยกตัวอย่าง พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ ได้นำแนวคิด Local สู่เลอค่า มาพัฒนาท้องถิ่นที่ทุรกันดารอยู่ห่างไกลความเจริญ กลายเป็นต้นแบบในการพัฒนาขยายเครือข่ายออกไปในนาม โซ่พิสัยโมเดล (Sophisai Model) ทำให้ชุมชนก้าวไปสู่เวทีโลก Gourmand Awards (เปรียบเสมือนรางวัลออสการ์ที่่เฟ้นหาบุคคลสุดยอดของโลกเพื่อสดุดีและเชิดชูเกียรติที่ได้อุทิศตนทำคุณประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสังคมโลก)


❇️โดยสถานที่แห่งนี้ได้รับรางวัลออสการ์ต่อเนีื่องกันหลายปี ทั้ง ประเภทองค์กรและประเภทอาหารพื้นถิ่น เหล่านี้ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเกิดขึ้นได้จริง แต่การต่อยอดความสำเร็จนั้นหน่วยงานภาครัฐต้องเข้ามาถอดบทเรียนเบื้องหลังทักษะกระบวนการคิดงาน และนำไปขยายผลต่อให้ผู้คนได้เรียนรู้ หรือการเข้ามาร่วมพัฒนาในโครงสร้างขั้นพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวก ความปลอดภัย ความสบาย ที่จะทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจ รัฐบาลต้องเลือกพื้นที่ต้นแบบ แล้วลงมือปั้นและสร้างหมู่บ้านท่องเที่ยวเกษตรกรรมของประเทศไทยให้โด่งดังเป็นรูปธรรมชัดเจน เหมือนอย่างที่ประเทศจีนได้สร้างหมู่บ้านเกษตรท่องเที่ยวฟื้นฟูชนบทจนสำเร็จมาแล้ว


Local สู่เลอค่า

FB: พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ

สุทธิพงษ์ สุริยะ โทร 081-6128853



"พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จ.บึงกาฬ" โดย คุณสุทธิพงษ์ สุริยะ ( อ.ขาบ) กรรมการ

ผู้จัดการ บริษัท ขายสไตล์ จำกัด





#100 บุคคล 100 เรื่องเล่า

#CSRTALK & CSR STORY

#CSRHouse Connect for Sharing Sustain Together

#เชื่อมต่อเพื่อแบ่งปัน อย่างยั่งยืนร่วมกัน

line @csrhouse https://lin.ee/3mE4bBl

ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentarer


bottom of page