top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนT P

กรอบการทำงานที่รวมเอาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ากับความรับผิดชอบขององค์กร

กรอบการทำงานที่รวมเอาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ากับความรับผิดชอบขององค์กร (Business Sustainability and Corporate Accountability ) ( บทความ ตอนที่ 7 )

โดย ดร.วรวุฒิ ไชยศร

#อุปนายกสมาคมศิษย์เก่า

วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต

#ผู้ช่วยผู้อำนวยการหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง ( มส.)

#วิทยากรมืออาชีพด้าน Corporate Sustainability & Social Responsibility Management : CSSRM & ESG PROFESSIONAL


กรอบการทำงานที่รวมเอาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ากับความรับผิดชอบขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยการจัดการที่ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ( ESG ) เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นมีองค์ประกอบหลักของ Business Sustainability and Corporate Accountability คือ

ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ( Economic Sustainability ) คือ

  • การดำเนินธุรกิจที่สร้างกำไรและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

  • การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ มีการลงทุนในนวัตกรรม และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นและชุมชน

    - เช่น องค์กรมีการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดต้นทุนการผลิต การนำ AI เข้ามาบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของตลาด


ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

 ( Environmental Sustainability ) คือ

  • การดำเนินธุรกิจที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

  • ให้ความสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ( Biodiversity)

  • การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

  • การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการของเสียและการรีไซเคิล

  • การใช้พลังงานทดแทน การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


ความยั่งยืนทางสังคม ( Social Sustainability ) คือ

  • การดำเนินธุรกิจที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนและสังคม

  • การสนับสนุนการศึกษาและสุขภาพ การปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน

  • การส่งเสริมความหลากหลายและการรวมพลังในที่ทำงาน

   - เช่น องค์กรมีโครงการฝึกอบรมทักษะให้กับพนักงานและชุมชน มีการสนับสนุนโครงการด้านสุขภาพในชุมชน


การกำกับดูแลกิจการที่ดี ( Corporate Governance ) คือ

  • การจัดการและกำกับดูแลที่โปร่งใส เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ

  • การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การมีระบบการกำกับดูแลที่ดี การรายงานผลการดำเนินงานอย่างโปร่งใส

  • การมีคณะกรรมการที่เป็นอิสระ การมี นโยบายต่อต้านการทุจริต การรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้ถือหุ้นอย่างตรงไปตรงมา


ความรับผิดชอบขององค์กร ( Corporate Accountability ) คือ

  • ความรับผิดชอบขององค์กรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายในและภายนอก

  • การรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานขององค์กร การมีระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน การรับฟังและตอบสนองต่อข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • การมีระบบการจัดการความเสี่ยง การจัดทำรายงานความยั่งยืน (Sustainability Reporting) การมีส่วนร่วมในโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) การสร้างคุณค่าร่วม ( CSV) ระหว่างองค์กร ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสีย


Ref : Corporate Sustainability Intergrating and Report ( Ann Brockett & Zabihollah Rezaee 2012 )


ตัวอย่างองค์กรที่นำกรอบการทำงานที่รวมเอาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ากับความรับผิดชอบขององค์กร (Business Sustainability and Corporate Accountability ) มาประยุกต์ใช้


Patagonia มีการนำแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ากับความรับผิดชอบขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยการจัดการที่ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ( ESG ) เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในแต่ละด้าน คือ

  • Economic Sustainability การเติบโตทางการเงินผ่านการขายผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนและมีคุณภาพสูง

  • Environmental Sustainability การใช้วัสดุรีไซเคิลและการสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

  • Social Sustainability การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานและการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น

  • Corporate Governance การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและมีความรับผิดชอบ

  • Corporate Accountability การรายงานผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและการตอบสนองต่อข้อกังวลของ ผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้เสีย





“Patagonia” ได้นำแนวทางนำกรอบการทำงานที่รวมเอาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ากับความรับผิดชอบขององค์กร (Business Sustainability and Corporate Accountability ) มาประยุกต์ใช้ได้อย่างดี และคิดว่า

👉ไม่ทำวันนี้ก็สายเกินไป ยั่งยืนไม่ใช่แค่การตลาด Patagonia เสื้อผ้าจบปัญหาโลกร้อน

👉ใช้วัตถุดิบรีไซเคิล ใช้พลังงานหมุนเวียนแบบ 100%

👉ออกแคมเปญห้ามซื้อ ลดการบริโภคเกินจำเป็น

👉ยกหุ้นทั้งหมดให้โลก


จดหมายจากอีวอง ซูยนาร์ ( Yyon Chouinard) ผู้ก่อตั้ง ได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่ง มีเนื้อหาว่า

👉โลกคือผู้ถือหุ้นรายเดียวของเราแล้ว

หากเราหวังว่าโลกจะเจริญรุ่งเรือง—หรือแม้กระทั่งธุรกิจ—เราทุกคนจะต้องช่วยกันทำทุกวิถีทางด้วยทรัพยากรที่มี

👉ฉันไม่เคยอยากเป็นนักธุรกิจ ฉันเริ่มต้นจากการเป็นช่างฝีมือ โดยทำอุปกรณ์ปีนเขาให้กับเพื่อนและตัวเอง

👉จากนั้นจึงหันมาทำเสื้อผ้า เมื่อเราเริ่มเห็นถึงภาวะโลกร้อนและการทำลายระบบนิเวศ รวมถึงการมีส่วนร่วมของเราเอง


Patagonia จึงมุ่งมั่นที่จะใช้บริษัทของเราเพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ หากเราสามารถทำสิ่งที่ถูกต้องในขณะที่มีรายได้เพียงพอต่อการชำระค่าใช้จ่าย เราก็สามารถมีอิทธิพลต่อลูกค้าและธุรกิจอื่นๆ และอาจเปลี่ยนแปลงระบบไปพร้อมกันด้วย

👉เราเริ่มต้นด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เรามอบส่วนลด 1% จากยอดขายในแต่ละปี เราได้รับการรับรองเป็น B Corp และ California benefit corporation โดยได้เขียนค่านิยมของเราไว้ในกฎบัตรของบริษัทเพื่อให้ค่านิยมเหล่านี้คงอยู่ต่อไป

👉ล่าสุดในปี 2018 เราได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของบริษัทเป็น: เราทำธุรกิจเพื่อรักษาโลกของเราเอาไว้

👉แม้ว่าเราจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อแก้ไขวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ เราจำเป็นต้องหาวิธีที่จะทุ่มเงินมากขึ้นเพื่อแก้ไขวิกฤตนี้ โดยยังคงรักษาคุณค่าของบริษัทเอาไว้

👉พูดตามตรงแล้ว ไม่มีทางเลือกที่ดีเลย ดังนั้นเราจึงสร้างทางเลือกของเราเอง”

👉ทางเลือกหนึ่งคือการขาย Patagonia และบริจาคเงินทั้งหมด แต่เราไม่สามารถแน่ใจได้ว่าเจ้าของใหม่จะรักษาคุณค่าของเราไว้หรือรักษาทีมงานของเราทั่วโลกให้ยังคงทำงานอยู่ได้หรือไม่

👉อีกทางหนึ่งคือการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคงเป็นหายนะอย่างยิ่ง แม้แต่บริษัทมหาชนที่มีความตั้งใจดีก็ยังต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันมากเกินไปที่จะสร้างผลกำไรในระยะสั้น โดยแลกมากับความมีชีวิตชีวาและความรับผิดชอบในระยะยาว




ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page