top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนT P

สรุป 15 ข้อ “โลกทุนนิยมที่ทุกคนเป็นเจ้าของ Stakeholder Capitalism”

1. เหนือกว่ากลยุทธ์ ยิ่งกว่านโยบาย เราจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทุนนิยมผู้ถือหุ้น” ที่ปล้นความเท่าเทียมของผู้คนมาเป็นผลกำไรให้ผู้ถือหุ้น มาเป็น “ทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ที่เห็นแก่ประโยชน์ของทุกคนและทุกสิ่ง


2. ระบบทุนนิยมที่ใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกตลอดหลายปีที่ผ่านมาคือ “ทุนนิยมผู้ถือหุ้น” ซึ่งเป็นระบบที่บอกว่า บริษัทต่าง ๆ ทำธุรกิจโดยมีจุดประสงค์เดียว คือสร้างกำไรสูงสุดและคืนดอกผลสูงสุดเท่าที่ทำได้ให้ผู้ถือหุ้น ผู้ที่สนับสนุนระบบนี้เชื่อว่ารัฐบาลไม่ควรตั้งกฎระเบียบที่เข้มงวด แต่ควรให้ตลาดทำงานอย่าง

เสรี


3. เมื่อเราปล่อยให้ตลาดทำงานเอง บริษัทหลายแห่งจะขยายตัวขึ้นสู่ระดับโลก ผู้ถือหุ้นก็มีอำนาจมากไปด้วย ทำให้รัฐบาลขาดอำนาจควบคุมอุตสาหกรรม, สหภาพแรงงานต่อรองกับเจ้าของธุรกิจได้น้อยลง, ธุรกิจขนาดเล็กเสียเปรียบจากแข่งขันในตลาดที่ไม่เป็นธรรม


4. หากรัฐบาลไม่สามารถออกกฎหมายที่เป็นธรรมกับลูกจ้างได้ หรือไม่สามารถควบคุมการผูกขาดการค้าในตลาด คนตัวเล็กที่สุดแต่มีจำนวนมากที่สุดในสังคมจะเสียเปรียบ และผู้ชนะรายเดียวในระบบเศรษฐกิจคือ “ผู้ถือหุ้น” แต่ส่วนอื่น ๆ ทั้งลูกจ้าง ชุมชน รัฐบาล ต้องสูญเสียอำนาจ


5. ทุกคนล้วนเป็น “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ในระบบเศรษฐกิจ แต่กลับมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพียงรายเดียวที่

กอบโกยประโยชน์


6. เมื่อขึ้นชื่อว่าทุนนิยม ก็ไม่ต้องสามานย์เสมอไปเพราะขึ้นอยู่กับว่าเราเอาทุนนิยมมาใช้อย่างไร


7. ปัจจุบันเราให้ความสำคัญกับกำไรขาดทุนของบริษัทและจีดีพีของประเทศ แต่ตัวเลขเหล่านี้มีความเจ็บปวดซ่อนอยู่


8. บริษัทที่มีกำไรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ไม่ได้หมายความถึงความมั่งคั่งของทุกคนในบริษัท เช่นเดียวกันจีดีพีที่สูงขึ้นก็ไม่ได้หมายถึงความอยู่ดีกินดีโดยรวมของประชากรในประเทศ และในขณะที่ตัวเลขเหล่านี้สูง ความเหลื่อมล้ำก็สูงเช่นกัน


9. ผู้ถือหุ้นในระบบทุนนิยมมีอำนาจมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้แต่รัฐบาลก็กล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะควบคุมกลุ่มคนเหล่านี้


10. เราเดินมาถึงจุดที่ต้องเปลี่ยน ก่อนที่ระบบเศรษฐกิจจะฆ่าผู้คนส่วนใหญ่ เราต้องเปลี่ยนระบบทุนนิยมที่เน้นกำไรผู้ถือหุ้น เป็นระบบทุนนิยมที่เน้นคนทุกกลุ่มก้อนในสังคม


11. ทุกคนต้องมองให้เห็นว่า แม้เราจะเป็นหน่วยเล็ก ๆ ในสังคม แต่เราก็เป็นส่วนหนึ่ง และอาจเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดด้วย


12. เราปล่อยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มเล็กควบคุมระบบเศรษฐกิจทั้งหมด จนทำให้ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยถ่างมากขึ้น และโอกาสทางเศรษฐกิจก็ยังไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการแข่งขันในตลาด การเข้าถึงทรัพยากร หรือการต่อรองเพื่อสิทธิ์ของเรา



13. “ทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” เป็นระบบเศรษฐกิจที่จะทำให้ทุกคนเจริญรุ่งเรืองไปด้วยกัน


14. “ทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” เป็นระบบที่ทุกคนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีระบบตรวจสอบและถ่วงดุลเพื่อไม่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายใดมีอำนาจมากเกินไป และเป็นระบบที่บริษัทและรัฐบาลมีเป้าหมายมากกว่าแค่ผลกำไร แต่ต้องสนใจสุขภาวะและความมั่นคงของสังคมโดยรวม


15. ข้อดีของ “ทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ได่แก่ เศรษฐกิจเฟื่องฟู, ทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบเศรษฐกิจสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม, มีระบบตรวจสอบและถ่วงดุลเพื่อไม่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายใดกลายเป็นผู้มีอำนาจมากเกินไป


“โลกทุนนิยมที่ทุกคนเป็นเจ้าของ”

Klaus Schwab ร่วมกับ Peter Vanham เขียน

ศรรวริศา เมฆไพบูลย์ แปล

Cr: สำนักพิมพ์ Amarin HOW-TO

โลกทุนนิยมที่ทุกคนเป็นเจ้าของ








#Corporate Sustainability & Social Responsibility Management : CSRM

#CSRMDesign & Workshop

#CSRHouse Connect for Sharing Sustain together. เชื่อมต่อเพื่อแบ่งปันอย่างยั่งยืนร่วมกัน



ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page