top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนT P

หนังสือ WE ECONOMY สร้างโลกสวย ด้วยธุรกิจของ “เรา”

หนังสือ WE ECONOMY สร้างโลกสวย ด้วยธุรกิจของ “เรา”

เขียนโดย เครก คีลเบอร์เกอร์ / ดร.ฮอลลี แบรนสัน / มาร์ก คีลเบอร์เกอร์ แปลโดย วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา


สรุปโดย ดร.วรวุฒิ ไชยศร ผู้เชี่ยวชาญด้านซีเอสอาร์และการบริหารจัดการองค์กรที่ยั่งยืน ( Corporate Sustainability & Social Responsibility Management : CSRM)



เราต้องการเป็นบริษัทซีเอสอาร์ (CSR) ระดับโลกที่โดดเด่น ด้วยการยืนหยัดช่วยเหลือสังคม เราจึงสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างใหญ่หลวง ผมเชื่อว่าความร่ำรวยมาผสมกับความรับผิดชอบที่สูงส่ง หมายถึงความรับผิดชอบที่จะช่วยเหลือสังคม และความรับผิดชอบที่จะใช้ทรัพยากรทุกอย่างเพื่อช่วยผู้ยากไร้ให้ได้มากที่สุด (บิลเกตส์)

เรื่องราวความสำเร็จในยุคแรกของธุรกิจช่วยโลก แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณผสมผสานพลังอำนาจของทุนนิยมเข้ากับหัวใจที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ทุนนิยมที่มีหัวใจในการเป็นธุรกิจช่วยโลก คุณสามารถหาเงินและเปลี่ยนโลกไปพร้อมกัน กล่าวคือคุณสามารถหาเงินได้ด้วยการเปลี่ยนโลก เรื่องมันง่ายๆแค่นั้นเอง จุดมุ่งหมายเพื่อสังคม คือ แหล่งขุมทรัพย์ใหม่ เป็นหนึ่งในพลังที่ยังไม่ถูกใช้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกธุรกิจ หากไม่มีจุดหมายเพื่อสังคม รูปแบบธุรกิจของคุณก็ไม่สมบูรณ์ เพื่อให้ธุรกิจไปได้ดี เราต้องทำดีในชุมชนที่เราอาศัย ทำงานและช่วยเหลือสังคมในฐานะพลเมือง

นิยามของผู้ประกอบการเพื่อสังคมในบริษัทคือ คนที่อยู่ในบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีหน้าที่โดยตรงในการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อม พร้อมไปกับการสร้างผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ให้กับบริษัทด้วย เมื่ออุดมการณ์กับผลประโยชน์มาจับมือกัน และเราจะแสดงให้คุณเห็นว่ามันเกิดจริง เศรษฐกิจ บุคคล และชุมชนจะรุ่งเรืองขึ้น ถ้าแบรนด์ไม่สามารถเติมคำลงในช่องว่างในประโยคได้ว่า ฉันกำลังทำให้โลกดีขึ้น เพราะ………………พวกเขาก็จะแข่งขันไม่ได้ ตลอดหลาย 10 ปีที่ผ่านมา บริษัทที่ไม่สนใจความสมบูรณ์แข็งแรงของคนและโลกก็จะตกยุคไป

ผมเชื่ออย่างสนิทใจว่า ถ้าทุกบริษัทในโลกนี้นำหลักการนี้ไปใช้ ปัญหาทุกอย่างในโลกนี้ก็จะสามารถแก้ไขได้ (ริชาร์ด แบรนสัน) การให้ความช่วยเหลือเป็นเพียงการบรรเทาปัญหา แต่ทุนนิยมที่เป็นการพาณิชย์ และการเป็นผู้ประกอบการจะทำให้คนหลุดพ้นความยากจนได้มากกว่าการช่วยเหลือ

80% ของผู้บริโภคทั่วโลกบอกว่าภาคธุรกิจต้องมีบทบาทในการจัดการปัญหาสังคมต่างๆ อุดมการณ์ปลดล็อคลูกค้าใหม่ “ มีด้านของจิตวิญาณอยู่ในชีวิตของเขา คือเมื่อเราให้ เราก็ได้รับ หรือเมื่อบริษัททำดีให้กับใครสักคน ใครคนนั้นก็รู้สึกดีกับบริษัท การลงทุนเพื่อสังคม หลักการพื้นฐานของมันคือ การมีจุดยืนว่าเงินที่ลงทุนไปจะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม และสิ่งแวดล้อมที่จับต้องได้ นอกเหนือจากผลกำไรที่เป็นตัวเงิน

การช่วยเหลือสังคม มักเป็นวิธีที่บริษัทใช้ยกระดับสถานการณ์ในการแข่งขันที่คุ้มค่าที่สุด (ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ ) ผู้หญิงรุ่นมิลเลนเนียลมองว่ากำลังซื้อของพวกเธอ คือวิธีที่หนักแน่นที่สุดในการแสดงการสนับสนุนบริษัท ที่ช่วยแก้ปัญหาที่พวกเธอให้ความสำคัญ 64% ของผู้หญิงรุ่นมิลเลนเนียลซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสังคม ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (เทียบกับ 54%ของผู้ชายรุ่นเมลลิเนียน)

ฉันอยากเขียนหนังสือเล่มนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อแสดงให้เห็นจากประสบการณ์ของฉันที่เวอร์จิ้น ว่าธุรกิจสามารถร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคมอย่างไม่น่าเป็นไปได้ ในการใช้ตลาดเป็นเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม การทำความดีเล็กๆน้อยๆ สามารถกลายเป็นการทำความดีอันยิ่งใหญ่ได้ เมื่อเพิ่มความมุ่งมั่นของผู้ประกอบการเพื่อสังคมลงไป ถ้าคุณใส่จุดมุ่งหมายเพื่อสังคมเข้าไปในดีเอ็นเอของธุรกิจของคุณ สิ่งที่ได้นั้นจะประเมินค่ามิได้


อุดมการณ์ของคุณจะบ่งบอกเหตุผลที่คุณดำรงอยู่ มันคือหลักในการตัดสินใจทุกครั้งของบริษัทคุณ พนักงานของคุณคิดถึงมันทุกลมหายใจ และเมื่อเวลาผ่านไป มันจะเป็นเหตุผลที่ลูกค้าของคุณกลับมาอยู่เสมอ จงกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อสังคมของคุณให้ถูกต้องเหมาะสม และมันจะทำให้บริษัทแข็งแรง มีกำไร และคณค่าในอนาคต 30% ของค่านิยมของบริษัทมีพื้นฐานอยู่บนความรับผิดชอบกับสังคมของบริษัท


การทำดี เป็นธุรกิจที่ดี บริษัทที่ทำดีมีโอกาสได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจมากกว่าความไว้วางใจ และชื่อเสียงที่ดี คือทรัพย์สินอันมีค่าในตลาดทุกวันนี้ บริษัทมักได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคน้อย หากผู้บริโภคเชื่อว่าพวกเขาทำเพื่อตัวเอง ไม่ใช่เพื่อสังคม บริษัทของคุณต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน เพราะถ้าคุณไม่รู้ ลูกค้าของคุณก็จะไม่รู้ด้วย


ปัญหาต่างๆของโลก คือ นวัตกรรมที่กำลังรอให้เกิดการแก้ไข ทุกคนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายเพื่อสังคมในการทำงานได้ และทุกคนควรลองทำด้วย เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อพนักงานที่ตื่นตัวมากพอๆกัน เป็นประโยชน์ต่อบริษัท ในยุคที่คุณสามารถตามดูทุกสิ่งในสมาร์ตโฟนของคุณ ทั้งแคลอรี่ในอาหารที่รับประทานไป จำนวนก้าวที่เดิน จำนวนเงินซื้อกาแฟ และราคาหุ้น คุณก็คงสามารถตามดูการช่วยเหลือสังคมของคุณได้ด้วย ผู้บริโภคทุกวันนี้มีข้อมูล มีอำนาจ และหลอกยาก พวกเขาต้องการจ่ายเงินให้กับการเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาอยากเห็นในโลกนี้ พวกเขาจึงอยากให้บริษัทสามารถพิสูจน์การทำเพื่อสังคมของตนได้

ลูกค้ามักตอบรับการตลาด ควบคู่การกุศลที่มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจหลักของบริษัทอย่างแท้จริง

การทำตามที่พูดอาจเป็นเรื่องของสิ่งเล็กๆพอๆกับหรือมากกว่าสิ่งใหญ่ๆใช้จุดมุ่งหมายเพื่อสังคม เพื่อแสดงให้ผู้บริโภครุ่นใหม่เห็นว่าค่านิยมของคุณตรงกับของพวกเขา ทุกคนที่ทำงานในธุรกิจที่ยั่งยืนจะรู้ว่า หนึ่งในสิ่งสำคัญที่บริษัทสามารถทำได้ ได้แก่ การร่วมมือกับผู้ค้าวัตถุดิบในการทำให้สินค้าหรือบริการที่บริษัทซื้อนั้นมีความยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะในแง่ของการเพิ่มความเป็นมิตรต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมของสิ่งเหล่านั้น


บริหารห่วงโซ่อุปทานของคุณ การปรับเปลี่ยนเป็นธุรกิจช่วยโลก เป็นงานยากสำหรับทุกบริษัท เราจึงจะเริ่มต้นด้วยการถามคำถามต่างๆ ดังต่อไปนี้ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานของคุณ ซึ่งก้เป็นคำถามที่คุณสามารถถามในฐานะผู้บริโภคได้ด้วย คือ ทุกคนจำเป็นต้องใช้มันหรือไม่? ใครผลิตมัน? ด้วยวิธีไหน? มันอยู่ในบรรจุภัณฑ์แบบไหน? มันถูกขนส่งอย่างไร? คุณภาพตลอดอายุของมันเป็นอย่างไร? มันสื่ออะไรไปถึงลูกค้าของเรา? มันมาจากไหน? มันถูกผลิตมาจากไหน? มันจะลงเอยที่ไหน?


ในการศึกษาโดยสภาเศรษฐกิจโลกครั้งหนึ่งที่เป็นการสำรวจคนรุ่นมิลเลนเนียล 5,000 คน ใน 18 ประเทศ บอกให้รู้ว่าสิ่งสำคัญเหนืออื่นใดสำหรับทุกธุรกิจคือ “การพัฒนาสังคม” การแก้ปัญหาด้วยแนวทางธุรกิจมีความยั่งยืนและเพิ่มศักยภาพได้มากกว่า การให้ความช่วยเหลือหรือการให้เปล่า

พนักงานในทุกวันนี้ให้ความสำคัญกับความเชื่อใจ ความโปร่งใส และสำนึกในการช่วยเหลือสังคมมากกว่าสิ่งอื่นใด เวลาเลือกทำงานในบริษัท และที่สำคัญที่สุดเวลาเลือกอยู่ต่อกับบริษัท ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆอย่างแท้จริงนั้น เราต้องพลิกวิธีที่เราทำงานการกุศลเพื่อ (และกับ) คนรุ่นต่อไป นั่นคือการสร้างเครื่องมือให้กับคนหนุ่มสาว แล้วกระตุ้นให้พวกเขาสร้างความเปลี่ยนแปลงของตัวเอง เราไม่สามารถพึ่งพารัฐบาลหรือองค์กรการกุศลเพียงฝ่ายเดียวในการแก้ปัญหาของโลกนี้ ธุรกิจสามารถและควรช่วยด้วย บริษัทต่างๆประกอบด้วยคนธรรมดาเหมือนคุณ และพวกเขาอยากสร้างความเปลี่ยนแปลงขึ้นในโลก ถ้าเราทุกคนใช้ทรัพยากรที่มีอยู่รอบตัวเรา เราก็จะสามารถทำให้โลกนี้ดีขึ้นได้ (ทอม วิลสัน ซีอีโอออสเตทและประธานหอการค้าสหรัฐฯปี 2017)


การช่วยเหลือสังคมมักเกิดผลมากกว่าถ้าเป็นโครงการเพื่อสังคมที่สร้างประโยชน์แก่สังคม ชุมชน และสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน สังคม อย่างยั่งยืนได้ด้วย ปี 2016 ผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทต่างๆทั่วโลก หรือแบรนด์นักออกแบบอย่าง COACH ถูกถามถึงแรงจูงใจที่สำคัญที่สุดในการลงทุนเพื่อสังคมเพิ่มขึ้น คำตอบที่เป็นเป้าหมายทางสังคมของบริษัทชั้นนำเหล่านี้จากซีอีโอระดับโลก คือ พัฒนาทุนมนุษย์ถึง 63% การพิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของทั้งมนุษย์และสิ่งของ คือการดูศักยภาพในการทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้นของสิ่งนั้น แน่นอนว่าคนแต่ละคนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ได้ แต่เมื่อคนเหล่านั้นมาพบกันด้วยจิตวิญาณที่เหมือนกัน พวกเขาก็สามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ไปตลอดกาล และที่สำคัญกว่านั้นทำให้โลกนี้ดีขึ้นด้วย

ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกมีอายุต่ำกว่า 30 ปี นี่คือคนรุ่นที่มีโอกาสและศักยภาพอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในการสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาใหม่ๆเพื่อทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง แต่ก็อย่างที่เรากล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วยว่า นี่คือคนรุ่นที่ต้องรับเอาปัญหาระดับโลกไปด้วย ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ โรคร้ายแรง ไปจนถึงความเหลื่อมล้าและการไม่ยอมรับความแตกต่างที่กำลังเพิ่มขึ้น ในทุกห้วงความคิดของเรา เราต้องคำนึงถึงผลกระทบของการตัดสินใจของเราที่มีต่อคนอีก 7 รุ่น ขณะเราเริ่มทำหน้าที่อันศักสิทธิ์ของการตัดสินใจในเรื่องของเผ่า ให้เราตั้งความหวังว่าการตัดสินใจของเราในวันนี้ รวมถึงความใส่ใจ ความรอบคอบและมื่อประโยชน์อย่างแท้จริงต่อสมาชิกเผ่าของเราอีก 7 รุ่นนับจากวันนี้ เฉกเช่นเดียวกับที่เรายกย่องการตัดสินใจของบรรพบุรุษเมื่อ 7 รุ่นก่อนของเรา ( ปรัชญาของอีโรคอยส์ ประมาณปี 1700 -18001)


ในกระแสเศรษฐกิจนี้ ในภาวะวิกฤตนี้ ทุกคนมีบทบาทหน้าที่ เพื่อการเปลี่ยนโลกแท้จริง ธุรช่วยโลกต้องการคุณ คุณทุกคน





#CSRMDesign & Workshop

#CSRTalk & CSR Story

#CSRHouseConnect for Sharing Sustain Together เชื่อมต่อเพื่อแบ่งปันอย่างยั่งยืนร่วมกัน

ดู 6 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Yorumlar


bottom of page