top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนT P

"เพื่อโลก เพื่อเรา เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืน"

👉ทำไมเรื่องที่พูดไว้ในรายการ CSR TALK & CSR STORY จึงเป็นเรื่องที่เห็นว่าสำคัญ?


❇️"เพื่อโลก เพื่อเรา เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืน"...เชื่อว่า ทุกท่านน่าจะคุ้นชินกับคำเหล่านี้ ซึ่งเป็นกระแสหลักของโลก (Megatrends)


❇️ณ ปัจจุบัน องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน จึงมักหยิบยกเอาคำเหล่านี้เพื่อไปใช้ในเชิงการตลาดหรือการพาณิชย์


❇️คำถามคือ สำหรับท่านแล้ว คำเหล่านี้ เป็นเพียงแค่ "คำ" (Marketing term) สวยหรู ที่จะต้องใส่เข้าไปเพื่อให้กิจกรรมหรือธุรกิจนั้นๆ ดูดีตามกระแส หรือ เป็น "คำ" (Strategic term) สำคัญ ที่จะก่อให้เกิดจิตสำนึก ศรัทธา และ ความคิด อันเป็นผลให้เกิดการผลักดันในการดำเนินกิจกรรมหรือธุรกิจนั้นๆ


❇️ไม่ว่า "คำตอบ" ที่เกิดขึ้นในใจของท่านต่อคำถามดังกล่าว จะเป็นอย่างไร จงจดจำไว้เสมอว่า "โลก ไม่ได้มีความต้องการเรา มากเท่ากับที่ เราต้องการโลก”


❇️ความแปรปรวนต่างๆที่เกิดขึ้นกับโลก

ในปัจจุบัน ก็เกิดจากการกระทำของพวกเราเอง ดังนั้น, ทุกๆคนจึงควรมีส่วนร่วม

มีบทบาทในการรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ ตามความถนัดและความสามารถของตัวเอง เพื่อให้เราและโลกอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและยั่งยืน



👉ทำอย่างไรให้เรื่องที่พูดไว้ในรายการ CSR TALK & CSR STORY ได้เกิด IMPACT ที่นำไปสู่ความยั่งยืนได้ต่อไป?


❇️วิธีในการชักจูงหรือชี้ชวน ให้ผู้คนสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และ ทำให้มีผลกระทบอย่างชัดเจน (Effective impact) ต่อความคิดและวิถีการดำเนินชีวิต อย่างได้ผล คือ การเสนอหรือการให้

"สิ่งจูงใจ" (Incentive) โดยทั่วไป, รางวัล, ผลตอบแทน, หรือ อื่นใดอันเป็นผลประโยชน์ที่จับต้องได้ (Tangible benefit) มักถูกใช้เป็นเครื่องมือมาตรฐาน ในการ

กระตุ้นการมีส่วนร่วมหรือความสนใจของผู้คนในสังคม


❇️เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผู้คนสามารถเข้าถึงและรับรู้ได้ ถึงแม้ว่า, สิ่งจูงใจทางวัตถุดังกล่าว จะสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้คนได้อย่างเป็นวงกว้างและรวดเร็ว แต่ก็เป็นเพียงการกระตุ้นหรือการสร้างกระแสในระยะสั้นๆ ไม่สามารถสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของผู้คนได้อย่างต่อเนื่อง


❇️ด้วยเหตุนี้, ในประเทศ องค์กร หรือ บริษัทระดับโลก ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความตื่นรู้ แนวคิด การมีส่วนร่วมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะใช้การนำเสนอสิ่งจูงใจหรือผลประโยชน์อันยั่งยืน (Sustainable benefit) เช่น เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ ที่จะสามารถนำพาไปสู่ผลประโยชน์ที่จับต้องได้แก่ผู้คนในสังคม

ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาล Germany ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับ การให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และ การประหยัดพลังงาน ผ่านทางสื่อต่างๆ


❇️โดยรัฐได้ให้เงินสนับสนุนและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ ประชาชนทั่วไป ที่จะปรับปรุงบ้านที่ยู่อาศัยให้เป็นบ้านที่ประหยัดพลังงาน โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายเหล่านี้มาหักภาษีได้


❇️รวมทั้งบริษัทที่ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ช่วยประหยัดพลังงาน รัฐจะช่วยสนับสนุน

ทางด้านเงินลงทุนเบื้องต้น เทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มาตรการช่วยเหลือทางด้านภาษีและด้านการค้า เพื่อส่งเสริมให้บริษัทนั้นๆสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ


อาจารย์วิชิต ประกายพรรณ

ที่ปรึกษากรรมาธิการอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม




“นวัตกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน”



ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page